วันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ร้านขายของชำที่ใช้พลังงานจากของกินเหลือทิ้ง

ภูมิภาคที่ร่ำรวยของโลกนั้นมีของกินเหลือทิ้งจำนวนมาก โดยมีประมาณการว่าถึง 40% ของอาหารในอเมริกันเหลือทิ้ง อย่างไรก็ดี supermarket ที่ใหญ่เป็นอันดับสองใน UK ได้กู้บางสิ่งออกมาจากเศษซากอาหารเหล่านั้น

Sainsbury ได้เปลี่ยนวิธีการกำจัดของเหลือ จากเดิมที่ส่งไปฝังกลบ มันจะถูกส่งไปสร้างกระแสไฟฟ้าให้บางสาขา Paul Crewe กล่าวว่า "มันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง นอกจากนี้มันยังเป็นโฆษณาที่ดีอีกด้วย" การฝังกลบของเหลือนั้นมีค่าใช้จ่าย £150 ต่อตัน ขณะที่ทางเลือกในการเปลี่ยนของเหลือเป็นพลังงานนั้นถูกกว่ามาก มันเป็นการเปลี่ยนของเหลือทิ้งเป็นของที่ใช้ประโยชน์ได้

ของจากธรรมชาติที่ไม่สามารถใช้โดย foodbanks หรือใช้เป็นอาหารสัตว์ได้จะถูกส่งไปยังโรงงานไฟฟ้าชีวภาพ (Bio gas) ที่ซึ่งผลิตก๊าซมีเทนเมื่อมันเน่า จากนั้นก็นำไปเผาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า กระทั่งก่อนหน้านี้เล็กน้อยไฟฟ้าที่ได้จะถูกส่งเข้าสู่กระบวนการจ่ายไฟฟ้าซึ่งไฟฟ้าที่ได้สามารถจ่ายไฟให้ร้านของ Sainsbury ได้ถึง 3 ร้านเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี Sainsbury มี supermarket ที่ค่อนข้างใกล้กับโรงงานไฟฟ้า ดังนั้น Crewe จึงตัดสินใจที่จะการต่อสายตรงจากโรงไฟฟ้ามายังร้านค้านั้น การทำอย่างนี้ไม่ได้มีประโยชน์ในแง่การจัดการของเหลือใช้ แต่มันเป็นสัญญาลักษณ์ที่มีพลังมาก ที่จะบอกว่า supermarket นี้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมดนั้น ได้จากของเหลือใช้ 

นอกจากนี้แผ่นพลังงานแสงอาทิตย์ยังถูกติดตั้งบนหลังคา supermarket ของ Sainsbury ทำให้พวกเค้ากลายเป็นกลุ่มที่สามารถผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ได้มากที่สุด เมื่อปี 2012 การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพยังช่วยลดการใช้ไฟฟ้าลงถึง 9% ใน 4 ปีที่ผ่านมา

ความพยายามในครั้งนี้ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาของสิ่งเหลือทิ้งหลังจากที่อาหารถูกซื้อไปแล้ว อาหารเหลือทิ้งเป็นได้ว่าจะเป็นแหล่งวัตถุดิบของการสร้างพลาสติกชีวภาพ (biodegrable plastics) อีกด้วย อย่างไรก็ดี วิธีจัดการของเหลือทิ้งที่ดีนั้นกลับมาจาก ร้านค้าในฝรั่งเศส Intermarché ซึ่งได้เรียนรู้ว่าของเหลือส่วนมากมักมาจากผักและผลไม้ที่หน้าตาไม่ดี ดังนั้นทางร้านจึงได้ตั้งแคมเปญอย่าง การลดราคาและเสียงหัวเราะ ที่ซึ่งช่วยให้ปริมาณของอาหารเหลือทิ้งลดลง

ที่มา IFLSCIENCE